วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สมาชิกที่มีทั้งหมด

นางสาวกานต์สินี พิชิตเธียรธรรม
นางสาวพัชรินทร์ สนแย้ม
นางสาวขนิษฐา กัณณุรา
นางสาวฤทัยทิพย์ ภู่มะณี
นางสาวชณัฐตา ฟองโห้ย
นายอภิวุฒิ พรหมสุวรรณ
นางสาวสุมลทิพย์ สันติวนกุล
นางสาวบุษภาภรณ์ ไหวกรี
นางสาวราตรี แฝพิมาย
นายชาญชัย ลำดวน

ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร

ในบทบาทของครูผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร เกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนไม่เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร
ดังนั้นแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร บุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษาจะต้องศึกษาเรื่องดังต่อไปนี้

1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร
ความหมายของคำว่าหลักสูตร
ความหมายของคำว่าหลักสูตรที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือมวลประสบการณ์ทั้งหมดที่จัดใหกับผู้เรียน
ซึ่งหลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ จุดมุ่งหมาย ขอบข่ายเนื้อหา และความสัมพันธ์กับเวลา โดยรูปแบบหลักสูตรระดับ
ห้องเรียน

2. ข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านปรัชญาการศึกษา ด้านจิตวิทยา
การศึกษา ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะ
ต้องนำมาวิเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร และการจัดองค์ประกอบของหลักสูตรที่สัมฤทธิ์ผลต่อไป

3. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของสงัด อุทรานันท์
สงัด อุทรานันท์ ได้เสนอแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรโดยยึดหลักการพัฒนาหลักสูตรทั้งระบบ โดยแบ่งออกเป็นการร่างหลัก
สูตร การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินผลหลักสูตรทั้งระบบอีกด้วย แบ่งออกเป็นขั้นตอนซึ่งสามารถแสดงเป็นรูปวัฏจักร
ของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร

รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของวิชัย วงษ์ใหญ่
วิชัย วงศ์ใหญ่ (2543 , น. 77) ได้เสนอรูปแบบและแนวคิดของขั้นตอนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้
ดังนี้
1. การกำหนดจุดมุ่งหมาย หลักการ โครงสร้าง และการออกแบบหลักสูตร

2. ยกร่างเนื้อหาสาระแต่ละกลุ่มประสบการณ์ แต่ละหน่วยการเรียนและรายวิชา

3. นำหลักสูตรที่พัฒนาแล้วไปทดลองใช้ในโรงเรียนนำร่องและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง

4. อบรมครู ผู้บริหารทุกระดับ และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่

5. นำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียน และประกาศใช้หลักสูตร โดยมีกิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่ ดังนี้
การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือ การจัดทำวัสดุหลักสูตร ได้แก่ เอกสารและอุปกรณ์การเรียนการสอนที่จำ
เป็นผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคลากร วัสดุหลักสูตร และบริการต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่อบรมครูและบุคลากรฝ่าย
บริหารหลักสูตร ห้องสมุด ห้องเรียน รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณการสอน เป็นหน้าที่ของครูปฏิบัติการทั่วไป
การประเมินผล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การประเมินผลการเรียนของนักเรียน และการประเมินผลหลัก
สูตร ตั้งแต่ประเมินเอกสาร ผลการนำหลักสูตรไปใช้ และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ซึ่งจะต้องประเมินอย่างเป็นระบบ
และต่อเนื่อง

4. การบริหารหลักสูตร
การบริหารหลักสูตร เป็นการนำกระบวนการบริหารมาใช้ในขั้นตอนการวางแผนหลักสูตร การนำ
หลักสูตรไปใช้ ตลอดจนการประเมินผลหลักสูตร ซึ่งการบริหารหลักสูตรใด ๆ ให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ร่วมมือกัน แต่สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่ผู้บริหารหลักสูตรควรคำนึงถึงคือ การเตรียมครูผู้สอน เพราะว่าครูผู้สอนเป็นองค์ประกอบ
ที่สำคัญที่จะช่วยให้การใช้หลักสูตรนั้นบรรลุเจตนารมณ์ของหลักสูตร โดยครูจะเป็นผู้นำหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนภายใน
ห้องเรียน ดังนั้น จึงกล่าวไว้ว่า “ครูผู้สอน คือ หัวใจของหลักสูตร” และคุณภาพของครูผู้สอนจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะ
นำไปสู่การบรรลุจุดหมายของหลักสูตร ด้วยเหตุนี้หน่วยงานที่ผลิตครูนั้น การผลิตครูหรือพัฒนาครูควรตระหนักถึงคุณภาพของ
ครูด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตครู ด้วยเหตุนี้จึงควรผลิตให้มีคุณภาพเพียงพอที่จะออกไปปฏิบัติหน้าที่ตามโรงเรียน
และสามารถออกไปใช้หลักสูตรได้ โดยสามารถแปลงหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนได้ ดังนั้น หน่วยงานที่ผลิตครูควรให้
ความสำคัญตั้งแต่การคัดเลือกนักศึกษาเข้ามาเรียนวิชาครูหลักสูตรสำหรับผลิตครู และกระบวนการผลิตครู โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ส่วนกรณีครูประจำการนั้น หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรมีการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
มีการติดตามและประเมินผลอย่างจริงจัง ถ้าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกันที่จะเตรียมและพัฒนาครูให้มีคุณภาพ การศึกษาใน
อนาคตของประเทศก็คงจะมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

5. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ถือว่ากระบวนการสำคัญในการจัดการเรียนการสอน ถ้าครูผู้สอนรู้จักเลือกวิธีการจัดการ
เรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ ก็จะส่งผลต่อการบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร อย่างไรก็ตาม วิธีการจัดการ
เรียนการสอนต่าง ๆ ก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป ซึ่งจะต้องอาศัยการเรียนรู้กระบวนการเหล่านั้นอย่างเข้าใจ อันนำ
ไปสู่การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และตอบสนองหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น


6. การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการจัดการศึกษา เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการ
ควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพของการศึกษาหลาย ๆ ระดับ ตั้งแต่ระดับห้องเรียน ระดับโรงเรียน ระดับเขตจนถึง
ระดับชาติ ผู้ที่มีบทบาทในการประเมินทั้งในระดับผู้จัดทำนโยบายการศึกษา ผู้กำกับดูแล จนถึงระดับผู้ปฏิบัติ จึงควรทำ
ความเข้าใจกับประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการประเมินหลักสูตรให้ชัดเจน เพื่อจะได้กำหนดวางแผนการประเมิน
หลักสูตรที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการประเมิน และสามารถนำผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ได้จริง

7. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพ จะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยว
ข้องนอกสถานศึกษา เพื่อระดมความคิด ประสบการณ์มาใช้ในการกำหนดหลักสูตรและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตาม
มาตรฐานที่กำหนด และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐฏิจและสังคม รวมทั้งเปลี่ยนไปตามธรรมชาติของการศึกษา
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีข้อควรคำนึง 2 ประการ คือ ต้องเชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธ
ศักราช 2544 และจะต้องพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ สถานศึกษาสามารถออกแบบหลักสูตรของตนเองได้อย่าง
อิสระ โดยยึดนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาการในการจัดการศึกษาที่มีความถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับบริบท
ของสถานศึกษา ชุมชน และท้องถิ่น มีความเป็นไปได้
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง
ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้ มีดังนี้
1. ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2. ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครูตามแนวหลักสูตร
3. ปัญหาการจัดอบรมครู
4. ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
5. ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
6. ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
7. ปัญหาขาดแคลนเอกสาร เนื่องจากขาดงบประมาณและการคมนาคมขนส่งไม่มีประสิทธิภาพพอ
วิธีการพัฒนาหลักสูตร มี 5 วิธีการ
1. การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2. การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
3. การพัฒนาหลักสูตรแบบวิธีการสาธิต
4. การพัฒนาหลักสูตรวิธีการอย่างมีระบบ
5. การพัฒนาหลักสูตรโดยวิธีเชิงปฏิบัติการ


การพัฒนาหลักสูตรในอนาคต
1. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ (เครือข่ายวิชาการ วิชาชีพ)
2. พัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
- จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาคนต่อเนื่องตลอดชีวิต
3. รูปแบบหลักสูตรจะหลากหลายมากขึ้น เช่น หลักสูตรการศึกษาภาคพิเศษ หลักสูตรเฉพาะกิจ หลักสูตรฝึกอบรม
4. เปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้น
5. มีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 2 ประเทศ เช่น เวียตนาม เขมร ลาว มลายู
6. มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีต้องไม่ขัดกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ต้องไม่ให้เทคโนโลยีเป็น
นายเรา
7. หลักสูตรและการเรียนการสอนจะต้องพัฒนาทักษะในการคิด การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และความสามารถในการสื่อ
สาร พัฒนาคนให้คิดกว้าง คิดไกล ใฝ่รู้
8. ให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งเรื่องที่เป็นสากล นานาชาติ และของไทย ต้องรู้เขารู้เรา
9. พัฒนาหลักสูตร ส่วนกลาง 60 % ส่วนท้องถิ่น 40 %
10. จัดการเรียนการสอน โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
11. จะต้องมีการประกันคุณภาพทางการศึกทุกระดับ

คุณคิดว่าการสอบGAT PAT นั้นดีแล้วหรือไม่? แล้วทำไมจึงมีการเปลี่ยนแบบทดสอบบ่อยเหลือเกิน

คิดเห็นกันยังไงบ้างเนี้ย

รวมหัว

ขอความคิดเห็นเพื่อน ๆ เกี่ยวกับปัญหาการศึกษาไทย

o-net GAT PAT 53

ปัญหาค่าใช้จ่ายในการสมัครสูง

กรณีตัวอย่าง เด็กสายวิทย์

สมมุติเด็กต้องการเรียนพยาบาล ต้องสอบ O-NET GAT และ PAT 2
ถ้าสมัครสอบอย่างละ 1 ครั้ง GAT 200 บาท PAT2 200 บาท รวม 400 บาท
สมัครสอบอย่างละ 3 ครั้ง รวม 1,200 บาท

ในการสอบให้สอบได้ 3 ครั้ง เอาคะแนนครั้งที่ดีที่สุดของแต่ละวิชา แต่เด็กสมัครได้ครั้งเดียว โดยต้องระบุไว้ในการสมัครว่าจะสอบกี่ครั้ง ครั้งไหนบ้าง วิชาอะไรบ้าง คิดเงินตามจำนวนวิชาและจำนวนครั้ง ซึ่งเด็กต้องสมัครตั้งแต่ ม.5 ภาคเรียนที่ 1 ในความเป็นจริง เด็ก ม.5 เทอม 1 ซึ่งตัวเด็กเองยังไม่รู้ ว่าเขาถนัดอะไร จะเรียนอะไรกันแน่ เพราะรู้ผลการเรียนมาแค่ 2 เทอม เขาต้องสมัครให้หลาย PAT ไว้ก่อน เพื่อจะมีทางเลือกมากขึ้น

• ยังไม่รวมค่าที่ต้องเดินทางหรือที่พักไปสอบแต่ละครั้งสำหรับเด็กต่าง อำเภอ เพราะสนามสอบอยู่ในเมือง และค่าเดินทางไปสอบ 0-net อีก คิดดูว่าต้องเสียเงินอีกเท่าไหร่
• ลองคิดดูแค่สมัครยังต้องใช้เงินมากขนาดนี้ แล้วไม่มีหลักประกันว่า สมัครไปแล้วจะมีที่เรียนหรือเปล่า เพราะต้องรอแอดมิสชันอีกครั้งหนึ่ง (ซึ่งก็ต้อง เสียค่าสมัครแอดมิสชันอีกรอบ) เอาเปรียบเด็กเกินไปหรือเปล่า เศรษฐกิจแบบนี้ลูกคนจนๆ ที่เขาอยากจะเรียนจะทำอย่างไร อย่าลืมนะครับเด็กยังหาเงินเองไม่ได้ ต้องขอพ่อแม่ เด็กบางคนไม่มีพ่อแม่ ต้องหาเงินเอง ค่าอาหารค่าใช้จ่ายแต่ละวันก็ลำบากแล้ว เคยคิดถึงเด็กกลุ่มนี้บ้างหรือไม่

สรุปผลที่ตามมา

- เด็กที่ยากจนไม่มีเงินเสียค่าสมัครสอบ ก็ไม่สมัคร ทำให้เสียโอกาสทางการศึกษา
- เด็กที่มีเงินน้อยกว่าสมัครสอบน้อยครั้งกว่า ก็เสียเปรียบเด็กที่มีเงินมากกว่า

ปัญหาความไม่เชื่อถือระบบแอดมิสชันนี้ของมหาวิทยาลัย และความไม่เป็นเอกภาพในการรับนักศึกษา ทำให้มีการรับตรงเพิ่มขึ้น รับจากการแอดมิสชันลดลง

ผลจากการแอดมิชชันทำให้นักศึกษาถูกรีไทล์เพิ่มขึ้น ผลการเรียนต่ำลง ตามที่เป็นข่าว ทำให้มหาวิทยาลัยรับนักศึกษาแบบรับตรงเพิ่มขึ้น (บางที่ถึง 80%) ทำให้รับจากการแอดมิสชันลดลง กลายเป็นว่าเด็กต้องเสียค่าสมัครสอบแพง แต่โอกาสในการได้ที่เรียนจากการแอสมิชชันกลับลดลง เหมือนเด็กถูกหลอกให้เสียเงิน
1. นักเรียนเสียโอกาสจากความสับสน ความไม่เข้าใจ ความไม่แน่นอน ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ
ระบบนี้มีนักเรียนอีกมากที่ยังไม่เข้าใจ บางโรงเรียนไม่ได้ทำความเข้าใจกับเด็ก หรือทำความเข้าใจแล้วแต่เด็กยังไม่เข้าใจ และเชื่อว่า ขณะนี้มีเด็กอีกมากที่กำลังจะขึ้น ม. 6 ยังไม่รู้ตัว ว่าตนเองไม่มีสิทธิ์แอดมิสชันแล้ว เพราะไม่ได้สมัครสอบ GAT และ PAT
2. เด็กที่ไม่ได้สมัครสอบ GAT และ PAT ขาดกำลังใจในการเรียน พฤติกรรมเบี่ยงเบน
มีเด็กบางกลุ่มที่ไม่ได่สมัครสอบ GAT และ PAT (เพราะ ไม่มีเงิน) รู้ว่าตนเองไม่มีสิทธิ์แอดมิสชันแล้ว เริ่มไม่สนใจเรียน ขาดกำลังใจในการเรียน พฤติกรรมเบี่ยงเบน
3. นักเรียนโอกาสในบางโครงการ เช่น
- โครงการจุฬาชนบท ปีการศึกษา 2553 (หนังสือ ศธ 0512.72/201)
เป็นโครงการรับนักเรียนจากจนจากชนบทเพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะต่าง ๆ โดยได้รับทุนอุดหนุนจนจบการศึกษา ใช้ผลสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2 ที่จะสอบในวันที่ 4 - 12 กรกฎาคม 2552 เป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือก


แสดงว่า เด็กที่ไม่สมัครสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2 ก็เสียโอกาส เหมือนเป็นการบังคับโดยอ้อมให้ต้องสมัครสอบครั้งที่ 2 และเด็กยากจนจริง ๆ จะเอาเงินที่ไหนไปสมัคร (สทศ. จะเปิดรับเพิ่มในช่วง 20 เมษายน - 10 พฤษภาคม 2552 แต่ก็แปลก ที่ A-NET เด็กเรียกร้องแทบตายให้เปิดโอกาสให้รับเพิ่ม อ้างกระทบสิทธิเด็กคนอื่น แต่คราวนี้ สทศ. เปิดรับสมัครเพิ่ม สงสัยรอบที่แล้วได้เงินน้อย ยังไม่ทะลุเป้า มีประเนที่น่าสงสัย คือที่จะเปิดรับสมัครสอบ GAT/PAT เพิ่มเติม ไม่กลัวไปกระทบสิทธิ์เด็กที่สมัครและจ่ายเงินตามกำหนดเหมือนที่ สกอ. อ้าง ไม่กลัวเด็กฟ้องหรือ?)

ต่อ ปัญหาการศึกษา

1.การศึกษาสร้างปัญหาให้ผู้ปกครอง จริงหรือไม่ว่า นับวันระบบการศึกษายิ่งสร้างความเจ็บปวดรวดร้าวแก่ผู้ปกครองมากขึ้น ปรากฏการณ์การรับนักเรียนเข้าเรียน ม.1 ของโรงเรียนที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศในช่วงเวลาที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นปัญหาของระบบการศึกษาได้ดี เราจะเห็นความโกลาหลของผู้ปกครอง ที่อยู่ในอาการหวั่นวิตกว่าบุตรหลานของตนนั้นจะสามารถฝ่าข้ามเส้นแบ่งระหว่างคำว่า ได้ กับ ตก หรือไม่ เมื่อผลสอบ หรือผลการเสี่ยงดวงออกมา จึงมีคนส่วนน้อยที่สมหวัง แต่คนส่วนใหญ่ผิดหวัง สำหรับผู้ที่พลาดหวัง เมื่อต้องอยู่ในฐานะของผู้แพ้ แม้การที่ต้องตกอยู่ในฐานะดังกล่าว อาจไม่ใช่ความผิดอะไร และไม่ใช่ความต่ำต้อยของสติปัญญาเด็ก แต่มาจากความไร้ปัจจัย (เงิน) ที่ทำให้เข้าไปไม่ถึงโอกาสในการฝึกฝนตนเองก่อนเข้าสู่สนามแข่งขันที่เคร่งเครียดและปวดร้าว จริงหรือไม่ ผู้ที่คว้าชัยโดยมากที่สามารถปีนป่ายเหยียบข้ามบ่าคนอื่นเพื่อไปยืน ณ จุดสูงสุดนั้น ก็คือ ผู้ที่ได้เข้าสู่กระบวนการท่องบ่นวิชาอย่างเป็นบ้าเป็นหลัง ติวตั้งแต่เช้ายันค่ำ พร่ำบ่มเพาะการแข่งขันให้เด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาล โดยที่ลืมคิดไปว่าจิตวิญญาณก็จำเป็นต้องใส่ลงไปในหัวเขาด้วยเหมือนกัน เรามี พ.ร.บ.การศึกษาที่มีกลไกตรวจสอบประเมินคุณภาพให้สถานศึกษามีคุณภาพ และมาตรฐานเท่าเทียมกัน ถามว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ การประเมินของ สมศ. ที่ผ่านไปแล้ว 2 รอบ อะไรคือมรรคผลที่ได้มา นอกจากทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองยิ่งไม่มั่นใจ ไม่เชื่อในระบบโรงเรียนมากขึ้น จึงหันมาพึ่งพาการติวเข้ม "เกมของคนเหนือคน" ถึงกับเชื่อว่า การติวเท่านั้นที่จะพาบุตรหลานของตนสู่ชัยชนะได้ และกระบวนการนี้คือภาพของความเลวร้ายในโลกที่ "มือใครยาสาวได้สาวเอา" อย่างถึงแก่น ใครมือสั้นก็ถูกเบียดให้ล้มลง และถูกเหยียบทับถมให้จมธรณีในที่สุด

2.การศึกษาสร้างปัญหาให้ผู้เรียนทุกระดับ ทุกๆ เดือนแรกมักได้ยินข่าวนักเรียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้อาวุธปืนกราดยิงผู้อื่นล้มตาย นี่คือผลผลิตจากระบบการศึกษาที่บีบคั้นและเก็บกด เมื่อถึงเวลาหนึ่งที่ไม่อาจอดกลั้นต่อภาวะนั้นต่อไป การแสดงออกจึงรุนแรง และนำมาซึ่งความสูญเสียมากมาย ที่น่าเป็นห่วงก็คือ สังคมไทยกำลังก้าวก่ายไปบนถนนสายนี้ หลายครั้งที่มีการนำเสนอข่าว เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ นักศึกษาฆ่าตัวเองเพราะไม่สมหวังจากการสอบ ระบบติวเช้าติวเย็น โอยเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นอีกมากมาย ทั้งการทุจริตการสอบที่ผู้ปกครองกลายเป็นจำเลยตัว เพราะอยากให้ลูกสอบได้ แม้กระทั่งนักศึกษาชั้นหัวกะทิของประเทศอีกหลายรายได้ใช้วิชาที่เรียนมาทำให้คนรักสาบสูญอย่างไร้ร่องรอยเมื่อเกิดช่องระหว่างกัน ยังไม่นับนักการเมืองผู้ทรงเกียรติในสภาหลายคนที่ได้ก่อเหตุสั่นสะเทือนวงการแม้จะพร้อมด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิ นี่คือผลผลิตของการท่องบ่นวิชา เอาปริญญาเป็นตัวตั้ง และนับวันจะสร้างความทุกข์ระทมให้สังคมไทยเป็นทบทวี

3.การศึกษาสร้างปัญหาให้ ครู อาจารย์ ผู้บริหาร เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่บุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความก้าวหน้าในอาชีพมากขึ้น โดยสามารถพัฒนาผลงานก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น มีวิทยฐานะในระดับต่างๆ เช่น ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ ในเวลาปีที่ผ่านมา ทำให้ครู ผู้บริหารที่หมกมุ่นอยู่กับกระดาษได้รับการพิจารณาให้เลื่อนวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ จำนวนมาก แต่ที่น่าคิด ก็คือความรู้ความสามารถของนักเรียนไม่ได้ก้าวหน้าตามไปพร้อมด้วย ปัญหาเด็กไทยที่จบ ป.6 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดไม่เป็นนับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น และยังไม่รู้ว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายลงอย่างไร อาจารย์ผู้สอนระดับอุดมศึกษาเอง เมื่อมีตัวชี้วัดจากการประเมินทั้ง กพร., สมศ. ก็พอกระตุ้นให้อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มปริมาณขึ้นบ้าง แต่เมื่อพิจารณาเนื้อในแล้ว ปริมาณองค์ความรู้ที่สร้างสรรค์ขึ้นกับจำนวนอาจารย์ที่มีอยู่ เกิดช่องว่างกว้างใหญ่ นั่นแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ระดับอุดมศึกษาก็มีปัญหาในตนเอง คือเรียนจบสูง แต่เรียนรู้น้อย ขาดหัวจิตหัวใจ ขาดความทุ่มเทในภารกิจของตน นี่คือผลสะท้อนหนึ่งในระบบการศึกษาไทย ที่คนชอบเรียนแค่จบกล่าวคือ เมื่อเรียนจบ ก็ไม่คิดอะไรต่อ เมื่อไม่เรียนรู้ ไม่ทำวิจัย ไม่พัฒนาศักยภาพคน ก็อ่อนแอ เมื่อคนระดับอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นขุมคลังทางปัญญาอ่อนแอ ก็ไม่สามารถเป็นปัญญาของสังคมได้ เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะก้าวข้ามภูเขาแห่งปัญหาการศึกษาไทยที่หมักหมมมายาวนานเหล่านี้ได้อย่างไร

4.การศึกษาคือปัญหาขององค์กร คนในวงการศึกษามักให้ความสำคัญกับสิ่งที่ไม่ใช่ภารกิจตน เช่น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารโดยการหลอมรวมโรงเรียนประถม/มัธยมให้อยู่ใต้เงาเดียวกัน คือ สพฐ. ก็เริ่มมีการดูหมิ่นดูแคลนกัน ครูมัธยมที่หลงตนว่าโดยสภาพที่ตั้งของโรงเรียนตนเองอยู่สูงกว่าครูประถม ทั้งที่ครูทั้งสองส่วนควรมีความเชื่อมโยงเอื้ออาทรต่อกัน เพราะจริงๆ แล้ว ไม่มีอะไรมาชี้ว่า ครูมัธยมดีกว่า หรือเก่งกว่าครูประถมมีการรวมกลุ่มเพื่อยื่นหนังสือขอแยกทางกันในการจัดการศึกษา โดยอ้างเหตุผลว่า การอยู่ร่วมกันทำให้คุณภาพมัธยมตกต่ำ นี่คือปัญหาระดับวิธีคิด สังคมไทยอ่อนแอเพราะความนึกคิดที่แบ่งแยกใช่หรือไม่ เมื่อใดที่เราคิดว่า เราดีกว่าคนอื่น ก็เกิดความรู้สึกเหยียดหยันเขาไปในตัว ปัญหานี้จึงไม่ใช่ว่าใครดีกว่าใคร แต่เป็นเรื่องอื่น อาจเป็นเรื่องกิเลสภายใน ที่มักแสดงออกมาเมื่อจะต้องสูญเสียในสิ่งที่ตนเคยได้รับ บางทีคนชั้นครูอาจต้องเสียสละส่วนตนเพื่อให้ส่วนรวมได้ประโยชน์ เพราะเราไม่อาจเป็น "ผู้ได้" ไปตลอดกาล เมื่อครูยังมีความคิดที่แบ่งแยกอย่างนี้ ความสมานฉันท์ที่เราต่างพากันเรียกหา จะเป็นจริงได้อย่างไร

5.การศึกษาคือปัญหาของสังคม ปัจจุบันมีคนไทยสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาเพิ่มมากขึ้นๆ แต่ขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างสติปัญญากับปัญญาของคนไทยต่ำลงไปมาก มันคงเป็นผลผลิตจากระบบการศึกษาของเราที่ร่วมกันหล่อหลอมขึ้นมา ผู้บริหารโรงเรียนประถมต้องยอมให้ผู้เรียนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ผ่านชั้น ป.6 เพราะความกลัวถูกเพ่งเล็งจากผู้บริหารที่อยู่เหนือขึ้นไป ครูเอง แม้จะขัดกับความรู้สึกที่ต้องตอบสนองนโยบายผู้บริหาร ครูมัธยมก็เริ่มสงสัยครูประถมว่า ทำอะไรกันอยู่ ปล่อยให้เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ อาจารย์อุดมศึกษา หากยังไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับประเด็นที่ตีคู่มากับโลกร้อน ก็อาจเป็นได้ว่าการศึกษาจะนำพาสังคมไทยสู่ความอ่อนแอลง และยากที่จะกู้กลับมา จึงหมดเวลาที่จะไปโทษใครคนใดคนหนึ่ง หากว่าไปแล้วเราทุกคนล้วนมีส่วนในการทำลายประเทศชาติมาแล้วทั้งนั้น ดังนั้น ครู-อาจารย์จึงควรต้องมาทบทวนบทบาทของตนเอง ครู-ผู้บริหารโรงเรียนทั้งหลาย ต้องบริหารวิชาการให้เข้มแข็ง ต้องแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ให้จงได้ อย่ามัวแต่บริหารความก้าวหน้าเฉพาะตนอยู่เลย เราต่างเป็นผู้ที่อาศัยโลก (ประเทศไทย) อยู่ ทุกคนควรสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามทิ้งไว้ก่อนอำลาจากไป อาจารย์อุดมศึกษาก็ควรต้องฝึกฝนตนเองให้เข้มแข็ง พร้อมส่งความเข้มแข็งสู่ศิษย์ และเกิดการส่งทอดความเข้มแข็งและความดีงามนี้ไปยังคนรุ่นต่อไป สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องช่วยกัน ทำให้การศึกษามีพลังที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ทุกสิ่งและจริงจัง เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ผลจะกลับกัน การศึกษาต้องจะเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาของสังคมที่จะนำประเทศชาติสู่ความล่มจมในที่สุด

ปัญหาการศึกษา

มีการนิยามความหมายของการศึกษาไว้มากมาย เช่น การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม คือกระบวนการกำจัดอวิชาสำหรับมนุษย์ การนำความกระจ่างสู่จิตและทำให้เกิดปัญญาคือการสร้างสมและถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ของมนุษย์เพื่อการแก้ปัญหาและยังให้เกิดความเจริญ เป็นกระบวนการพัฒนาบุคคลทั้งในด้านจิตใจ นิสัย และคุณสมบัติอย่างอื่นๆ เป็นเครื่องมือสำคัญของรับในการสร้างความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพลเมือง และนิยามสำคัญที่กล่าวว่า การศึกษา คือรากฐานที่สำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม

จากการเฝ้าสังเกต ความเป็นไปของการศึกษาไทยมากว่าทศวรรษ อาจกล่าวได้ว่าภาพที่เป็นจริงกับนิยามของการศึกษา มักเดินสวนทางกันตลอดมา ราวกับว่าการให้นิยามเป็นเพียงความนึกฝัน ที่ไม่มีวันเป็นจริง ภาพสะท้อนของการศึกษาไทยในปัจจุบัน ยิ่งทำให้เห็นว่าการศึกษาไม่อาจเป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์สู่ความเจริญงอกงามและสมดุลได้จริง ทั้งนี้ เพราะเนื้อตัวของการศึกษาเองก็มีปัญหาค่อนข้างมาก การที่กล่าวว่า การศึกษาเป็นรากฐานในการสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม จึงเป็นเพียงหลักการ แต่ไม่อาจนำมาใช้แก้ไขปัญหาสังคมได้จริง กล่าวอีกที การศึกษานั่นเองที่เป็นตัวบ่มเพาะปัญหาให้แก่สังคมมากขึ้นๆ ทุกที การกล่าวเช่นนี้ บางคนอาจมองว่าเป็นการมองโลกในทางร้าย แต่ถ้าพิเคราะห์ให้ดีผลสะท้อนจากการศึกษา ก็มักปรากฏออกมาในทาง ที่เป็นปัญหาจริงๆ