วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

o-net GAT PAT 53

ปัญหาค่าใช้จ่ายในการสมัครสูง

กรณีตัวอย่าง เด็กสายวิทย์

สมมุติเด็กต้องการเรียนพยาบาล ต้องสอบ O-NET GAT และ PAT 2
ถ้าสมัครสอบอย่างละ 1 ครั้ง GAT 200 บาท PAT2 200 บาท รวม 400 บาท
สมัครสอบอย่างละ 3 ครั้ง รวม 1,200 บาท

ในการสอบให้สอบได้ 3 ครั้ง เอาคะแนนครั้งที่ดีที่สุดของแต่ละวิชา แต่เด็กสมัครได้ครั้งเดียว โดยต้องระบุไว้ในการสมัครว่าจะสอบกี่ครั้ง ครั้งไหนบ้าง วิชาอะไรบ้าง คิดเงินตามจำนวนวิชาและจำนวนครั้ง ซึ่งเด็กต้องสมัครตั้งแต่ ม.5 ภาคเรียนที่ 1 ในความเป็นจริง เด็ก ม.5 เทอม 1 ซึ่งตัวเด็กเองยังไม่รู้ ว่าเขาถนัดอะไร จะเรียนอะไรกันแน่ เพราะรู้ผลการเรียนมาแค่ 2 เทอม เขาต้องสมัครให้หลาย PAT ไว้ก่อน เพื่อจะมีทางเลือกมากขึ้น

• ยังไม่รวมค่าที่ต้องเดินทางหรือที่พักไปสอบแต่ละครั้งสำหรับเด็กต่าง อำเภอ เพราะสนามสอบอยู่ในเมือง และค่าเดินทางไปสอบ 0-net อีก คิดดูว่าต้องเสียเงินอีกเท่าไหร่
• ลองคิดดูแค่สมัครยังต้องใช้เงินมากขนาดนี้ แล้วไม่มีหลักประกันว่า สมัครไปแล้วจะมีที่เรียนหรือเปล่า เพราะต้องรอแอดมิสชันอีกครั้งหนึ่ง (ซึ่งก็ต้อง เสียค่าสมัครแอดมิสชันอีกรอบ) เอาเปรียบเด็กเกินไปหรือเปล่า เศรษฐกิจแบบนี้ลูกคนจนๆ ที่เขาอยากจะเรียนจะทำอย่างไร อย่าลืมนะครับเด็กยังหาเงินเองไม่ได้ ต้องขอพ่อแม่ เด็กบางคนไม่มีพ่อแม่ ต้องหาเงินเอง ค่าอาหารค่าใช้จ่ายแต่ละวันก็ลำบากแล้ว เคยคิดถึงเด็กกลุ่มนี้บ้างหรือไม่

สรุปผลที่ตามมา

- เด็กที่ยากจนไม่มีเงินเสียค่าสมัครสอบ ก็ไม่สมัคร ทำให้เสียโอกาสทางการศึกษา
- เด็กที่มีเงินน้อยกว่าสมัครสอบน้อยครั้งกว่า ก็เสียเปรียบเด็กที่มีเงินมากกว่า

ปัญหาความไม่เชื่อถือระบบแอดมิสชันนี้ของมหาวิทยาลัย และความไม่เป็นเอกภาพในการรับนักศึกษา ทำให้มีการรับตรงเพิ่มขึ้น รับจากการแอดมิสชันลดลง

ผลจากการแอดมิชชันทำให้นักศึกษาถูกรีไทล์เพิ่มขึ้น ผลการเรียนต่ำลง ตามที่เป็นข่าว ทำให้มหาวิทยาลัยรับนักศึกษาแบบรับตรงเพิ่มขึ้น (บางที่ถึง 80%) ทำให้รับจากการแอดมิสชันลดลง กลายเป็นว่าเด็กต้องเสียค่าสมัครสอบแพง แต่โอกาสในการได้ที่เรียนจากการแอสมิชชันกลับลดลง เหมือนเด็กถูกหลอกให้เสียเงิน
1. นักเรียนเสียโอกาสจากความสับสน ความไม่เข้าใจ ความไม่แน่นอน ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ
ระบบนี้มีนักเรียนอีกมากที่ยังไม่เข้าใจ บางโรงเรียนไม่ได้ทำความเข้าใจกับเด็ก หรือทำความเข้าใจแล้วแต่เด็กยังไม่เข้าใจ และเชื่อว่า ขณะนี้มีเด็กอีกมากที่กำลังจะขึ้น ม. 6 ยังไม่รู้ตัว ว่าตนเองไม่มีสิทธิ์แอดมิสชันแล้ว เพราะไม่ได้สมัครสอบ GAT และ PAT
2. เด็กที่ไม่ได้สมัครสอบ GAT และ PAT ขาดกำลังใจในการเรียน พฤติกรรมเบี่ยงเบน
มีเด็กบางกลุ่มที่ไม่ได่สมัครสอบ GAT และ PAT (เพราะ ไม่มีเงิน) รู้ว่าตนเองไม่มีสิทธิ์แอดมิสชันแล้ว เริ่มไม่สนใจเรียน ขาดกำลังใจในการเรียน พฤติกรรมเบี่ยงเบน
3. นักเรียนโอกาสในบางโครงการ เช่น
- โครงการจุฬาชนบท ปีการศึกษา 2553 (หนังสือ ศธ 0512.72/201)
เป็นโครงการรับนักเรียนจากจนจากชนบทเพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะต่าง ๆ โดยได้รับทุนอุดหนุนจนจบการศึกษา ใช้ผลสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2 ที่จะสอบในวันที่ 4 - 12 กรกฎาคม 2552 เป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือก


แสดงว่า เด็กที่ไม่สมัครสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2 ก็เสียโอกาส เหมือนเป็นการบังคับโดยอ้อมให้ต้องสมัครสอบครั้งที่ 2 และเด็กยากจนจริง ๆ จะเอาเงินที่ไหนไปสมัคร (สทศ. จะเปิดรับเพิ่มในช่วง 20 เมษายน - 10 พฤษภาคม 2552 แต่ก็แปลก ที่ A-NET เด็กเรียกร้องแทบตายให้เปิดโอกาสให้รับเพิ่ม อ้างกระทบสิทธิเด็กคนอื่น แต่คราวนี้ สทศ. เปิดรับสมัครเพิ่ม สงสัยรอบที่แล้วได้เงินน้อย ยังไม่ทะลุเป้า มีประเนที่น่าสงสัย คือที่จะเปิดรับสมัครสอบ GAT/PAT เพิ่มเติม ไม่กลัวไปกระทบสิทธิ์เด็กที่สมัครและจ่ายเงินตามกำหนดเหมือนที่ สกอ. อ้าง ไม่กลัวเด็กฟ้องหรือ?)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น